สวัสดีครับสำหรับวันนี้ในการเรียนเรามาลง lab ของวิชาปฐพีกลศาสตร์ หรือในภาษาอังกฤษใช้ชื่อว่า soil mechanics กันครับซึ่งวันนี้มาถึงบท การทดสอบการบดอัดดินแล้วครับซึ่งในจุดประสงค์การเรียนรู้ของบทนี้คือ ให้เรียนรู้เรื่องของดินหลักทฤษฎีในเรื่องของดินกำลังรับน้ำหนัก
เมื่อเรียนรู้บทนี้แล้วก็จะสามารถเห็นภาพในการทำงานก่อสร้างที่เกี่ยวข้องกับดิน เช่น งานเขื่อนดิน งานถมถนน สนามบิน พื้นโรงงาน ที่มีความต้องการความหนาแน่นของดินลดการหดตัวหรือทรุดตัวของดิน ทำให้สิ่งปลูกสร้างที่ก่อขึ้นบนดินหรืออาคารเสียหายครับ
วัตถุประสงค์ของการทดสอบ
- เพื่อให้รู้ถึงวิธีและขึ้นตอนการบดอัดดินแบบมาตรฐานและสูงกว่ามาตราฐาน
- เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างความหนาแน่นกับความชื้น(Moisture-density relation)
- เพื่อหาความชื้นที่สะสมให้ค่าความหนาแน่นแห้งสูงสุด (Optimum moisture content,OMC)
- เพื่อหาค่าความหนาแน่นสูงสุด (Maximum dry density)
ขั้นตอนการเตรียมวัสดุสำหรับทดสอบ
วันนี้เราต้องเตรียมวัสดุอุปกรณ์สำหรับทดสอบ ซึ่งก็ตะแกรงเบอร์ 4 เหล็กปาดดิน แบบหบ่อ ค้อนบดอัด ที่ตักดิน เครื่องชั่งดิน ที่ตักดิน ขวดฉีดน้ำ บิกเกอร์ใส่น้ำเพื่อให้ได้ปริมาตรน้ำที่เราจะเพิ่มในดินด้วย
ขั้นตอนการทดสอบการบดอัดดิน
1. ก่อนอื่นเลยเราต้องวัดขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง ความสูงของแบบหล่อดินก่อน และเอาไปชั่งให้เรียบร้อยเพื่อหาปริมาตรของแบบหล่อ (Mold) ให้เรียบร้อยก่อนที่เราจะทำการ เพื่อที่เวลาเราได้ตัวอย่างดินเราก็จะมาหักลบกับปริมาตรของแบบหล่อนี้ได้
2. จากนั้นเราก็มาเตรียมดิน โดยร่อนเอาดินจากตะแกรงเบอร์ 4 เพื่อให้ได้ดินเพื่อใช้ในการทดสอบการบดอัดดินในครั้งนี้ หลังจากได้ดินตามปริมาตรแล้วเราก็เอาดินไปชั่งให้ได้ 4 กิโลกรัม
3. หลังจากที่เราเตรียมดินเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เราก็มาเตรียมน้ำ 3 เปอร์เซ็น ของน้ำหนักดิน หรือ 120 cc สำหรับเพิ่มปริมาณความชื้นให้ดิน โดยเราจะใช้ดินตัวอย่าง 5 ตัวอย่างโดยการบดอัดและค่อยๆเพิ่มน้ำไปเรื่อยๆ
4. เราจะตักดินใส่ในแบบหล่อ โดยตักตัวอย่างดินใส่ชั้นละเท่าๆกันเป็นจำนวน 3 ชั้น และในแต่ละชั้นเราจะบดอัดด้วยค้อนชั้นละ 25 ครั้ง ในแบบหล่อ 4 นิ้ว(105 มม.)
5. ตักดินใส่ mold และเอาไปชั่ง และตักตัวอย่างดินบางส่วนเพื่อเอาไปอบแห้ง เพื่อเอาไว้ไปหาค่าดินแห้งที่อบแล้วอีกครั้ง โดยเราจะเก็บตัวอย่างดิน 5 ตัวอย่างเพื่อดูความแตกต่างของดิน
หลังจากที่เราเอาดินไปอบเรียบร้อยแล้ว เราก็จะได้ค่าดินที่อบแล้วมา ให้ทำการเอาค่า dry ของดินมา plot กราฟอีกที (ค่า dry density) ตัวอย่างด้านล่างนะครับ เพื่อจะเป็นประโยชน์ต่อใครที่กำลังเรียนเรื่องนี้อยู่
หวังว่าจะเป็นประโยนช์ไม่มากก็น้อยสำหรับคนที่กำลังเรียนเรื่อง ปฐพีกลศาสตร์ นี้อยู่นะครับ สำหรับข้อมูลนี้อ้างอิงจากตำราของ อ.วิชัย คุ้มมณี ผู้สอน วิชาปฐพีกลศาสตร์ ขอขอบพระคุณมา ณ ที่นี้ด้วยครับ สำหรับใครที่งงอยู่ หรือกำลังจะหาข้อมูลสำหรับจะเรียน โยธา ก่อสร้าง บางครั้งศึกษาเองมันอาจจะทำความเข้าใจยากสักหน่อยนะครับ ให้ดีก็ต้องมาเรียนดีกว่านะครับ
แบ่งปันกัน เราอยู่กันไม่เกิน 100 ปีหรอกครับ
สุดท้ายก็ทิ้งไว้ที่โลก จะคงเหลือไว้แต่คุณงามความดีที่ให้ระลึกถึงกันครับ
Follow Us / Thanat Sirikitphattana