โฟร์แมน ต้องจบอะไร ทำหน้าที่อะไรในงานก่อสร้าง ตำแหน่งโฟร์แมน หรือผู้ควบคุมงานก่อสร้าง คือผู้ที่ได้รับแต่งตั้งจากเจ้าของงาน หรือเจ้าของโครงการก่อสร้างให้ปฏิบ้ติหน้าที่
ตามที่ได้รับหมอบหมายในการควบคุมการก่อสร้าง โดยมากแล้วตำแหน่งโฟร์แมนจะเปิดรับผู้มีวุฒิการศึกษาตั้งแต่ระดับ ปวส. ขึ้นไป และมีฐานเงินเดือนตั้งต้นที่ 15,000 บาท หากสั่งสมประสบการณ์จนไปสู่ระดับซีเนียร์โฟร์แมน อาจได้รับเงินเดือนสูงถึง 50,000 บาท
โฟร์แมน ก่อสร้าง คืออะไร ?
Foreman ก่อสร้าง คือ คนที่เป็นผู้ควบคุมงานก่อสร้าง ซึ่งมักจะเป็นบุคคลที่มีความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ในการดูแลและควบคุมการก่อสร้างอาคารหรือโครงสร้างต่าง ๆ โดยเฉพาะในการควบคุมและตรวจสอบคุณภาพงานก่อสร้างตามแบบแผนการก่อสร้าง นอกจากนี้ยังต้องมีความรับผิดชอบในการควบคุมค่าใช้จ่าย ควบคุมเวลาการก่อสร้าง และดูแลความปลอดภัยในการก่อสร้างอีกด้วย
โฟร์แมน ทำหน้าที่อะไร
สำหรับหน้าที่ของโฟร์แมนในธุรกิจก่อสร้าง หรือ การตกแต่ง แล้วนั้น จะมีหน้าที่หลัก ๆ ที่ต้องรับผิดชอบดังต่อไปนี้
รับผิดชอบในการปฏิบัติงานก่อสร้าง ควบคุมการปฏิบัติงานของผู้รับเหมาในการก่อสร้าง
ร่วมในการวางแผนภาพรวมของโครงการ -ดูแลควบคุมการปฏิบัติงานของผู้รับเหมาในการก่อสร้าง
ควบคุมการใช้วัสดุของผู้รับเหมา
ควบคุมสภาพแวดล้อมในการทำงานให้มีความปลอดภัย และเป็นไปตามมาตรฐาน
ควบคุมการก่อสร้างให้เป็นไปตามแผนที่กำหนด
ตรวจสอบ และรายงานความก้าวหน้าของงานตามแผนงานก่อสร้างที่ได้รับมอบหมาย
ตรวจสอบ และติดตามการทำงานของผู้รับเหมาให้ได้มาตรฐาน ตามขั้นตอนที่ถูกต้อง
เรียกแบบไทยๆก็ “นายช่าง”
ส่วนจะต้องใช้ “วุฒิ” หรือว่าระดับความรู้ ประสบการณ์ระดับใด ขึ้นอยู่กับระดับความใหญ่ของงานครับ
สำหรับการสร้างบ้านทั่วๆไป
“ช่าง” ก็จะมีความรู้ความสามารถในการทำงานของเขาอยู่แล้ว
แล้วก็จะมี “หัวหน้าช่าง” ซึ่งมีประสบการณ์ ในการดูแลและทำงานอยู่ในทีมนั้นๆ
เมื่อเราตัดสินใจให้เขาสร้างบ้านให้ ก็มีความจำเป็นที่จะต้องให้ความไว้วางใจความสามารถของทีมงานทั้งหมดพอสมควร
หากเนื้องานไม่ดี หรือมีข้อสงสัยก็สอบถามกับโฟร์แมนได้
โฟร์แมนไม่จำเป็นต้องอยู่เฝ้าหน้างานตลอดเวลา? อันนี้จริงครับ
เขาจะมาเฉพาะส่วนงานที่มองเห็นว่าจำเป็น และควรให้ผิดพลาดน้อยที่สุด
หรือส่วนงาน ที่พิจารณาแล้วว่า ต้องอยู่คอยให้คำแนะนำจนจบกระบวนการ โดยอาจเป็นงานที่มักจะมีความเสี่ยงต่อการผิดพลาด และแก้ไขในภายหลังได้ยาก
เช่น ขั้นตอนทำฐานราก
โฟร์แมน ก็จะมาซักซ้อมทำความเข้าใจกับช่าง ว่าต้องใช้เหล็กขนาดใด จำนวนเท่าใด แล้วก็หายไป
ช่าง ก็จะทำการตัดและผูกเหล็กไปตามหน้าที่
พอเสร็จ โฟร์แมนก็จะมาดู ตรวตสอบว่าเรียบร้อยไหม แล้วก็คุยกันเรื่องเข้าแบบ ระดับหยุดคอนกรีต แล้วก็หายไป
ช่างก็เข้าแบบ ดิ่งเสา อะไรก็ว่าไป
พอเสร็จ โฟร์แมนก็จะมาตรวจสอบอีกว่า ได้ดิ่งไหม มีการหนุนลูกปูนจัดแนวเหล็กโครงสร้างดีไหม
วันเท โฟร์แมน อาจจะอยู่ดูสักพัก สั่งงานว่ากี่วันถอดแบบได้ แล้วก็ไป
วันแกะแบบ ก็มาดูว่าผลการหล่อเสาเป็นเช่นไร ต้องแก้ไขไหม สั่งงานต่างๆ แล้วก็ไป
ยิ่งถ้าเป็นงานก่อฉาบนี่ เขาอาจจะหายไปเป็นสัปดาห์ได้เลยทีเดียว ก็ไม่ต้องตกใจอะไรไป
ที่เราเห็นว่าเขาไม่มา ส่วนใหญ่เขาจะ “แวะมาดู” ซึ่งบางทีอาจมาแค่ 10-15 นาที
มาพูดคุยกับหัวหน้าช่างว่าติดขัดอะไรไหม เดินดูความเรียบร้อย แล้วก็ไป
หรือมาตอนเย็นๆ เอาเหล้าเอาเบียร์มาให้ลูกน้อง
ด้วยวิชาชีพ ก็ไม่ค่อยมีใครอยากให้งานมันไม่ดีหรอกครับ
โฟร์แมนที่ผมพบเจอมาแทบทุกคนเขาก็มีความตั้งใจในการทำงานที่ดีครับ ไม่ค่อยกล้าทิ้งงานถึงขั้นไม่เข้ามาดูนะครับ
แต่บางทีงานมันเยอะ หากเข้ามาดูไม่ทันจริงๆเขาก็จะโทรศัพท์คุยกันอยู่แล้ว
จะว่าไปก็เหมือนหมอและพยาบาลในโรงพยาบาลนะครับ
คุณหมอจะมาราวด์สัก 2-3 นาที สำหรับเคสที่ดูแล้วไม่หนักหนาสาหัส
แต่ถ้าอาการหนักต้องเฝ้าระวัง หมอก็จะมีเวลาตรวจอะไรกันนานหน่อย
เครดิตคุณ kmin จาก home2all.com
แบ่งปันกัน เราอยู่กันไม่เกิน 100 ปีหรอกครับ
สุดท้ายก็ทิ้งไว้ที่โลก จะคงเหลือไว้แต่คุณงามความดีที่ให้ระลึกถึงกันครับ
Follow Us / Thanat Sirikitphattana
นายช่างโยธา ศูนย์ก่อสร้างและบูรณะถนน 3 ส่วนก่อสร้างและบูรณะ 2 สำนักการโยธา