Monday, 14 October 2024

เลือกคนดีเข้าไปสภา เลือกธนัชมา “ทุบตึก”

03 Feb 2023
106
luminox watches

ธนัช ทุบตึก

ธนัช ทุบตึก

เลือกคนดีเข้าไปสภา เลือกธนัชมา “ทุบตึก” สโลแกนนี้ก็มาช่วงนี้มีเรียนภาษาไทยมันมีอยู่หัวข้อหนึ่ง อาจารย์ให้ออกแบบโฆษณาจริงๆผมก็เคยทำการตลาดมาบ้างไหนๆก็เรียนก่อสร้างละ เราก็ต้องทำ advertise ให้เหมาะสมกับสิ่งที่เรียนเลยเลือกงาน “ทุบตึก” ไหนๆก็ทำโฆษณาเกี่ยวกับงานทุบตึก เราลง details กันสักหน่อยเพื่อเป็นความรู้ไว้บ้างก็ได้นะครับ ไม่ใช่ทำโฆษณาแล้วจบๆไปมันก็ไม่เชื่อมโยง ขยายความให้มัน relate ไปกับสิ่งที่ทำให้เกิดไอเดียใหม่ๆใช่ไหมครับ

งานทุบตึกคืออะไร ?

งานทุบตึกทุบอาคารเป็นงานที่เกี่ยวข้องกับงานก่อสร้างโดยตรง เป็นขึ้นตอนแรกๆเลยก็ว่าได้ในการก่อสร้าง 1. เตรียมพื้นที่สำหรับก่อสร้าง การเคลียร์พื้นที่สำหรับปลูกสิ่งก่อสร้างใหม่ ก่อนที่จะปรับหน้าดินและสร้างสิ่งปลูกสร้างใหม่ๆเกิดขึ้นบริเวณที่เราดำเนินการ สรุปแล้ว งานทุบตึกคือการเคลียร์พื้นที่ก่อนก่อสร้าง ด้วยหลายๆเหตุผลปัจจัย อาทิเช่นทุบตึกเก่าเพื่อสร้างตึกใหม่ หรือ อาคารเก่ามากแล้ววิศวกรประเมินแล้วมีความเสี่ยงเพราะอาคารหมดสภาพจำเป็นต้องรื้อทิ้งเพื่อไม่ให้เกิดอันตรายกับประชาชนพื้นที่ใกล้เคียง คนสัญจรไปมาในบริเวณนั้น

ตัวอย่างตึกเก่าที่อยู่ข้างๆ ธ.กรุงศรีพระราม 3 เมื่อก่อนจะเป็นตึกร้างอยู่

ทุบอาคารตึก ข้างธนาคารกรุงศรีพระราม 3

ทุบอาคารตึก ข้างธนาคารกรุงศรีพระราม 3

 

หลังจากเคลียร์พื้นที่แล้วก็ดำเนินการสร้างดึกใหม่ขึ้นมา เป็นคอนโดหรูติดแม่น้ำเจ้าพระยา

สิ่งสำคัญของงาน “ทุบตึก” คืออะไร ?

ในงานทุบตึก รือถอนอาคารนั้นปัจจัยสำคัญของงานอยู่ที่ความปลอดภัย เพราะการรื้อถอนนั้นมีอันตรายเป็นอย่างมากยิ่งงานเป็นตึกสูงโอกาสที่จะมีความเสี่ยงในการดำเนินการรื้อถอนไปทำให้เกิดความเสียหายพื้นที่ข้างเคียง ความปลอดภัยจึงเป็นเรื่องที่สำคัญมากๆ งานทุบตึกรื้อถอนอาคารนี้จะต้องใช้ความเชี่ยวชาญของผู้ดำเนินการ มีประสบการณ์ในการทำงานด้านนี้ มีวิศวกรพิจารณาศึกาาพฤติกรรมของอาคารเมื่อถูกรื้อ มีการประเมินความเสี่ยงมาตราการป้องกันผลกระทบที่จะเกิดขึ้นไม่ว่าจะเป็นชุมชนโดยรอบ เส้นทางการรื้อถอน และสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะปีหลังๆ 2563 จนถึงปัจจุบัน 2565 เริ่มมีปัญหาฝุ่น PM2.5 เป็นอย่างมาก

กระบวนการพื้นฐานที่พึงกระทำในการป้องกันผลกระทบขณะการทำงานรื้อถอนควรดำเนินการดังนี้

1. สร้างรั้วเป็นเขตการรื้อถอนหรือทุบตึกโดยรอบ และจัดทำทางเข้าออกของเครื่องจักรและรถบรรทุก
2. ติดป้ายโครงการและป้ายเตือนโดยรอบพื้นที่ เพื่อแสดงให้ชุมชนรอบข้างและบุคคลภายนอกทราบถึงเขตแนวการรื้อถอนให้ชัดเจน เพื่อให้ระมัดระวังเมื่อมีการสัญจรบริเวณใกล้แนวเขตรื้อถอน
3. จัดให้มีการคลุมอาคารในกรณีที่พื้นที่จำกัดและเพื่อป้องกันไม่ให้เศษวัสดุจากการรื้อถอนฟุ้งกระจายหรือตกกระเด็นออกไปกระทบพื้นที่ข้างเคียงให้มากที่สุด
4. มีการจัดการความปลอดภัยอย่างเป็นระบบ ตามมาตรฐานสากล เช่นการให้คนงานที่ทำงานรื้อถอนสวมอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล (Personal Protective Equipment) ให้เหมาะสมกับลักษณะงาน การวางมาตรการป้องกันอันตรายโดยทำการวิเคราะห์อันตรายที่จะเกิดขึ้นจากการทำงาน (Job Safety Analysis) การตรวจสอบประสิทธิภาพของเครื่องจักร อุปกรณ์เครื่องมือไฟฟ้า หรือเครื่องจักรที่ใช้ในการยก การตัก การสกัด ทุบตึก รื้อถอนเช่น เครน รถแบคโฮ เป็นต้น
5. มีการลำดับงานรื้อถอนโดยละเอียด และกำหนดผู้ปฏิบัติงานและผู้ควบคุมงานแต่ละขั้นตอนให้ชัดเจน เพื่อมิให้เกิดความสับสนขณะปฏิบัติงานรื้อถอนอาคาร
6. มีการวางแผนการจัดการในเศษวัสดุที่เกิดจากการรื้อถอน อย่างเหมาะสมและถูกต้องตามกฎหมาย เศษวัสดุที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพหรือสิ่งแวดล้อมก็ต้องดำเนินการกำจัดอย่างถูกต้อง เศษวัสดุฉนวนใยแก้ว เศษน้ำมันหล่อลื่น จะต้องส่งไปกำจัดโดยบริษัทที่รับกำจัดอย่างถูกกฎหมายเป็นต้น
7. ตรวจสอบและป้องกันความเสียหาย ของเส้นทางการลำเลียงเศษวัสดุที่จะนำไปทิ้งจะต้องไม่สร้างความเดือดร้อนและเสียหายให้กับชุมชนหรือเส้นทาง เช่นการล้างล้อรถก่อนออกนอกเขตรื้อถอน การคลุมผ้าใบรถเศษคอนกรีต หรือดินที่จะนำออกนอกเขตรื้อถอนเสมอ เป็นต้น
8. เลือกเวลาในการลำเลียงวัสดุออกนอกพื้นที่ ควรจะเลี่ยงเวลาที่มีรถสัญจรไปมามากๆ หรือช่วงเวลาเร่งด่วน เพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบ การจราจรหรืออุบัติเหตุบนท้องถนน

การรื้อถอนอาคารเป็นกระบวนการที่ซับซ้อนและอาจเกิดความเสี่ยงต่อคนและทรัพย์สิน ดังนั้น ควรมีการตรวจสอบและวางแผนอย่างรอบคอบเพื่อความปลอดภัยที่สูงสุด ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้และประสบการณ์ในการรื้อถอนอาคารเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างปลอดภัยและประสบความสำเร็จได้

ข้อกฎหมายสำหรับการ รื้อถอนบ้าน

ข้อกฎหมายที่ได้บัญญัติไว้เมื่อต้องการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง ต้องทำการขออนุญาตจากทางราชการก่อน ตามมาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 “ผู้ใดจะรื้อถอนอาคารที่มีส่วนสูงเกิน 15 เมตร ซึ่งอยู่ห่างจากอาคารอื่นหรือที่สาธารณะน้อยกว่าความสูงของอาคาร  และอาคารที่อยู่ห่างจากอาคารอื่นหรือที่สาธารณะน้อยกว่า 2 เมตรต้องได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ซึ่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องตรวจพิจารณาและออกใบอนุญาตหรือมีหนังสือแจ้งคำสั่งไม่อนุญาต”

ทั้งนี้ การรื้อถอนต้องมีการป้องกัน และไม่ก่อความเดือดร้อนรำคาญและเป็นอันตรายต่อผู้อื่นด้วย

ขั้นตอนการดำเนินการขออนุญาตรื้อถอนอาคาร

สามารถยื่นเรื่องได้ ณ. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ที่จะขออนุญาตรื้อถอนอาคาร

  1. ยื่นขออนุญาตรื้อถอนอาคารพร้อมเอกสาร
  2. เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจพิจารณาเอกสารประกอบการขออนุญาต
  3. เจ้าพนักงานท้องถิ่นดำเนินการตรวจสอบการใช้ประโยชน์ที่ดินตามกฎหมายว่าด้วยการผังเมือง ตรวจสอบสถานที่ก่อสร้างจัดทำผังบริเวณแผนที่สังเขป ตรวจสอบกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง เช่น ประกาศกระทรวงคมนาคมเรื่องเขตปลอดภัยในการเดินอากาศเขตปลอดภัยทางทหารฯและพรบ.จัดสรรที่ดิน
  4. เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจพิจารณาแบบแปลนและพิจารณาออกใบอนุญาต (อ.1) และแจ้งให้ผู้ขอมารับใบอนุญาตรื้อถอนอาคาร (น.1)

 

บทลงโทษหากไม่ทำการขออนุญาตรื้อถอนบ้าน

ส่วนบทลงโทษหากไม่ทำการขออนุญาตรื้อถอนบ้าน ก็คือ ผู้ที่ทำการรื้อถอนอาคารโดยไม่รับอนุญาต จะมีโทษปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือ จำคุกไม่เกิน 3 เดือน และในวรรคสองของข้อกำหนดยังระบุอีกว่า ให้ต้องโทษปรับเป็นรายวันอีก ไม่เกินวันละ 10,000 บาท จนกว่าจะทำการขออนุญาตอย่างถูกต้อง ดังนั้นอย่าละเลยกันนะครับ ก่อนที่เรื่องมันจะยุ่งยากไปกว่านี้

ขอบคุณเครดิตรูปภาพจาก https://thinkofliving.com

Thanat Sirikitphattana

แบ่งปันกัน เราอยู่กันไม่เกิน 100 ปีหรอกครับ
สุดท้ายก็ทิ้งไว้ที่โลก จะคงเหลือไว้แต่คุณงามความดีที่ให้ระลึกถึงกันครับ

Follow Us / Thanat Sirikitphattana
นายช่างโยธา ศูนย์ก่อสร้างและบูรณะถนน 3 ส่วนก่อสร้างและบูรณะ 2 สำนักการโยธา