Monday, 2 December 2024

สรุป 7 สารเพิ่มในคอนกรีต วิชาคอนกรีตเทคโนโลยี

luminox watches

สารผสมเพิ่ม คือ สารผสมเพิ่มที่ได้จากธรรมชาติ หริอผลิตจากกรรมวิธีสังเคราะห์ทางเคมี โดยสารผสมเพิ่มจะใช้เพิ่มลงไปในส่วนผสมของคอนกรีตก่อนผสม หรือ ขณะผสม เพื่อปรับปรุงคุณภาพของคอนกรีต ในขณะที่คอนกรีตเหลวอยู่ หรือ คอนกรีตแข็งตัวแล้ว ให้ได้คุณสมบัติตามต้องการ อาทิเช่น เติมสารเพิ่มเพื่อให้คอนกรีตเทได้ดีเข้าแบบได้ดี , เร่งหรือหน่วงเวลาการก่อตัว, ควบคุมหรือดัดแปลงการพัฒนากำลังอัด , ปรับปรุงให้คอนกรีตทนต่อการแตกร้าว ทนกรดและซัลเฟต หรือ ลดค่าใช้จ่ายในการก่อสร้าง

สารกักกระจายฟองอากาศ
สารลดน้ำ
สารลดน้ำและหน่วงการก่อตัว
สารเร่งการก่อตัว

ทำไมต้องใช้สารเพิ่ม

สารเพิ่มถูกใช้เพิ่มปรับปรุงเหรือเพิ่มประสิทธิภาพของคอนกรีตสด หรือ คอนกรีตที่แข็งตัว
เร่งกำลังอัดช่วงต้นให้ได้ตามที่ต้องการ หรือ การทำคอนกรีตให้มีอัตราส่วนน้ำต่อซีเมนต์ (W/C) ที่ต่ำมากๆเพื่อเพิ่มกำลังอัดหรือความทึบน้ำ
สารเพิ่มถูกนำมาใช้เพื่อเอาชนะขีดจำกัดของการก่อสร้าง ไม่ว่าจะเป็นการเทคอนกรีตในสภาวะที่มีอากาศร้อน หรือ อากาศหนาว
สารเพิ่มสามารถปรับปรุงคุณสมบัติคอนกรีตให้มีความทนทาน
ความสามารถเทได้หรือคุณลักษณะของคอนกรีจทางด้านต่างๆให้ดียิ่งขึ้น
ใช้เพิ่มความสามารถทำให้ปั๊มได้ง่าย

Concrete Admixture MAPPING - 2

Concrete Admixture MAPPING – 2

สารผสมคอนกรีตแบ่งออกเป็น 7 ประเภท ตามมาตราฐาน มอก.733

1.ประเภท A สารลดน้ำ (Water Reducers)
สารเคมีผสมเพิ่มซึ่งเมื่อใช้ผสมคอนกรีตแล้วสามารถลดปริมาณน้ำต่อหน่วยปริมาตรของคอนกรีตได้โดยที่ความสามารถในการเทได้ของคอนกรีตคงเดิม

แบบ ไม่เปลี่ยนแปลงส่วนผสมเลย
มีความในการเทได้เพิ่มขึ้น
ค่ายุบตัวเพิ่มขึ้น
กำลังอัดและความคงทนใกล้เคียงเดิม
W/C Ratio เท่าเดิม

แบบ ลดน้ำ
มีความในการเทได้เพิ่มขึ้น
ค่ายุบตัวเพิ่มขึ้น
กำลังอัดและความคงทนใกล้เคียงเดิม
W/C Ratio ต่ำลง

แบบ ลดน้ำ/ลดปูนซีเมนต์
คอนกรีตมีราคาประหยัด
ค่ายุบตัวเท่าเดิม
กำลังอัดและความคงทนใกล้เคียงเดิม
W/C Ratio เท่าเดิม

2. ประเภท B สารหน่วงการแข็งตัว (Retarders)
เป็นสารเคมีเพิ่มซึ่งมื่อใช้ผสมคอนกรีตแล้วให้หน่วงปฎิกริยา Hydration ทำให้ระยะเวลาการก่อตัวของคอนกรีตยาวนานขึ้น
ทำไมต้องให้คอนกรีตสดก่อตัวและแข็งตัวช้า ?
เพื่อสำหรับงานเทคอนกรีตในสภาพอากาศร้อน
ใช้กรณีที่ต้องส่งคอนกรีตผสมเสร็จไปยังไซต์งานที่อยู่ไกล หรือต้องใช้เวลาขนส่งนาน
ใช้ในกรณีที่ลำเลียงคอนกรีตด้วยเครื่องปั้ม

สารประเภท B หน่วงการแข็งตัว ใช้ในงานก่อสร้างประเภทไหน ?
งานโครงสร้างขนาดใหญ่,งานเขื่อน, งานเสาเข็มเจาะขนาดใหญ่

3. ประเภท C สารเร่งการก่อตัว (Accelerators)
สารเคมีผสมเพิ่มซึ่งเมื่อใช้ผสมคอนกรีตทำให้ระยะเวลาการก่อตัวคอนกรีตสั้นลง หรือเพิ่มสำหรับการเร่งปฎิกิริยา Hydration
ทำไมต้องเร่งการก่อตัวหรือแข็งตัวของคอนกรีต ?
เพื่อสำหรับงานเร่งด่วน หรือเพื่อสามารถเปิดใช้งานได้ทันเวลา
สำหรับคอนกรีตที่ต้องการถอดแบบเร็ว
สำหรับงานหล่อคอนกรีตในประเทศที่มีอุณหภูมิต่ำซึ่งทำให้เกิดปฏิกิริยา Hydration ช้ามาก

สารประเภท C เร่งแข็งตัว ใช้ในงานก่อสร้างประเภทไหน ?
งานซ่อมทางด่วนที่ต้องเวลาเร่งด่วนเนื่องจากถนนใช้งานตลอดเวลา

4.ประเภท D สารลดน้ำและหน่วงการก่อตัว
เป็นสารที่ผสมเพิ่มซึ่งเมื่อผสมคอนกรีตแล้วจะสามารถลดปริมาณน้ำต่อหน่วยปริมาตรของคอนกรีตโดยยังรักษาความสามารถในการเทคอนกรีตได้เหมือนเดิม และทำให้ระยะเวลาการก่อตัวคอนกรีตยาวนานขึ้น

5.ประเภท E สารลดน้ำและเร่งการก่อตัว
สารเคมีที่ผสมเพิ่มซึ่งเมื่อผสมคอนกรีตแล้วสามารถลดปริมาณน้ำต่อหน่วยปริมาตรของคอนกรีตโดยยังรักษาความสามารถในการเทคอนกรีตได้เหมือนเดิม และทำให้ระยะเวลาการก่อตัวคอนกรีตสั้นลง

6.ประเภท F สารลดน้ำระดับสูง
สารเคมีที่ผสมเพิ่มซึ่งเมื่อผสมคอนกรีตแล้วสามารถลดปริมาณน้ำต่อหน่วยปริมาตรของคอนกรีตได้อย่างน้อยร้อยละ 12 โดยยังรักษาความสามารถในการเทคอนกรีตได้เหมือนเดิม
7.ประเภท G สารลดน้ำระดับสูงและหน่วงการแข็งตัว
สารเคมีที่ผสมเพิ่มซึ่งเมื่อผสมคอนกรีตแล้วสามารถลดปริมาณน้ำต่อหน่วยปริมาตรของคอนกรีตได้อย่างน้อยร้อยละ 12 โดยยังรักษาความสามารถในการเทคอนกรีตได้เหมือนเดิมและทำให้ระยะเวลาการก่อตัวคอนกรีตยาวนานขึ้น
8 สารอื่นๆ
สารกักกระจายฟองอากาศ
เป็นสารเคมีชนิดน้ำที่จะใช้ใส่ระหว่างการผสมคอนกรีต มีหน้าที่ สร้างฟองอากาศที่มีขนาดเล็กให้กระจายและคงตัวอยู่ จึงเรียกว่าฟองอากาศที่ถูกกักกระจาย เมื่อถูกผสมในคอนกรีตแล้วฟองเหล่านี้จะช่วยปรับปรุงความสามารถของคอนกรีตให้มีความทนทานต่อสภาวะที่น้ำกายเป็นน้ำแข็งและละลายสลับกัน (Freezing and Thawing)
ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการกักกระจายฟองอากาศ
1.วัสดุที่ผสมคอนกรีตและสัดส่วน
ส่วนละเอียดเช่น ทราย หรือ ปริมาณซีเมนต์ที่เพิ่มขึ้นจะยับยั้งการเกิดฟองอากาศ
ปริมาณฟองอากาศจะเพิ่มขึ้น โดยลดขนาดของหิน
สัดส่วนของทรยมีความสำคัญต่อปริมาณฟองอากาศ
น้ำที่เหมาะสำหรับคอนกรีตไม่มีผลต่อปริมาณฟองอากาศที่เกิดขึ้น
2.การผสมและการจี้เขย่า
การจี้เขย่าคอนกรีตมากเกินไปส่งผลให้ปริมาณฟองอากาศลดลง
คอนกรีตที่มีความสามารถเทได้ต่ำมากจะก่อให้เกิดฟองอากาศได้ยาก
3.สภาพแวดล้อม
ปริมาณฟองอากาศในคอนกรีตจะเป็นปฎิภาคผกผันกับอุณหภูมิ
คอนกรีตที่มีความสามารถเทได้ต่ำมากจะก่อให้เกิดฟองอากาศได้ยาก

สารกันซึม
สารกันซึมผลิตขึ้นเพื่อใช้งานจำเพาะเจาะจง ใช้ป้องกันการซึมของน้ำผ่านคอนกรีตที่มีรูพรุน ส่วนมากทำมาจากวัสดุประเภทสบู่ หรือ น้ำมัน
สารกันชื้น
สารกันชื้นผลิตขึ้นเพื่อใช้งานจำเพาะเจาะจง เป็นพวกกรดไขมันหรือผลพลอยได้จากอุตสาหกรรมปิโตรเลียม อาจจะทำให้น้ำไม่จับที่ผิวคอนกรีตแต่จะไม่สามารถทนน้ำที่มีแรงดันมากได้
สารเพิ่มการขยายตัว
สารเพิ่มการขยายตัวจะมีสารเคมีหลัก คือ Calcium Sulpho-Aluminate จะทำให้ซีเมนต์ธรรมดาเป็นแบบขยายตัวเพื่อใช้ทดแทนการหดตัวของคอนกรีตในการก่อสร้างทั่วไป
สารลดการกัดกร่อนเหล็กเสริม
เป็นเกลือจองสารเคมีที่มีประจุที่เกิดอออกไซด์ได้
สารเชื่อมประสาน
ส่วนใหญ่ทำมาจาก Polymer Latex ใช้เพิ่มเสริมการยึดเกาะตัวระหว่างคอนกรีตเก่าและคอนกรีตใหม่หรือระหว่างคอนกรีตเสริมเหล็ก
สารช่ายให้ปั้มงาย
ช่วยให้คอนกรีตยึดเกาะตัวกันเคลื่อนผ่านท่อปั๊มไปได้ ถึงแม้ว่าคอนกรีตนั้นจะมีประมาณซีเมนต์ต่ำ

สารอุดประสาน หรือสารกรอกฉีด
ใช้ผสมกับปูนซีเมนต์ เพื่อการฉิดเข้าไปในซอกหรือบริเวณแคบๆโดยป้องกันการแยกตัว การเยิ่มรวมทั้งเพิ่มการยยึดเกาะเพื่อให้ปั้มได้สะดวกเมาะที่จะนำไปใช้กับงานฐานราก อุดรอยร้าว อุดช่องว่างในงานคอนกรีตอัดแรงเป็นต้น

seven-chemical-admixture-types-mapping-ช่างก่อสร้าง.com

seven-chemical-admixture-types-mapping-ช่างก่อสร้าง.com

ข้อควรระวังในการใช้งาน

1.สารผสมเพิ่มที่จะนำมาใช้ ควรมีคุณสมบัติตรงตามมาตราฐานเช่น ในไทย ควรเป็นไปตาม มอก.733
2.ควรใช้สารผสมเพิ่มในปริมารที่ผู้ผลิตแนะนำพร้อมกับตรวจดูผลว่าเป็ฯไปตามที่ต้องการหรือไม่
3.ควรใช้วิธีการวัดปริมาณสารผสมเพิ่มที่แน่นอน ซึ่งสำคัญมากในกรณีของสารกักกระจายฟองอากาศและสารผสมเพิ่มเคมี
4.ผลของสารผสมเพิ่มต่อคุณสมบัติอื่นๆ ของคอนกรีตสารผสมเพิ่มทั่วๆไป มักมีผลต่อคุณสมบัติของคอนกรีตหลายอย่างพร้อมกัน

สารป้องกันซึม (Waterproofing)
สารช่วยให้ปั้มง่ายขึ้น (Pumping Aids)
สีสำหรับงานตกแต่งต่างๆ
สารอุดประสาน (Grouting Material)
สารลดปฎิกิริยาเคมีของปูนกับหิน (Alkali Aggregate Reducing)
สารเพิ่มการขยายตัว (Expansion Producing)
สารลดการกัดกร่อนเหล็กเสริม (Corrosion Inhibitor)
สารป้องกันการเกิดเชื้อรา
สารทำให้เกิดฟองอากาศ (Gas Formers)
สารเชื่อมประสาน (Vonding Agents)

สารป้องกันซึม (Waterproofing) นั้นแบ่งออก เป็น สารกันชื้น Damp Proofing (Repellent) และ สารลดการซึมผ่านของน้ำ (Permeability Reducing (Pressure Resisting)

Thanat Sirikitphattana

แบ่งปันกัน เราอยู่กันไม่เกิน 100 ปีหรอกครับ
สุดท้ายก็ทิ้งไว้ที่โลก จะคงเหลือไว้แต่คุณงามความดีที่ให้ระลึกถึงกันครับ

Follow Us / Thanat Sirikitphattana