Monday, 2 December 2024

สรุป การทดสอบหาขนาดคละของมวลรวม

luminox watches

สวัสดีครับ วันนี้จะมาสรุป การทดสอบหาขนาดคละของมวลรวม รวมไปถึงค่าโมดูลัสความละเอียด ซึ่งจริงๆอาจารย์ให้อ่านแล้วสรุป ลองสรุปแล้วมันก็สำคัญทุกส่วน 555 ก็เอาบางส่วน พิมพ์ลง บางส่วนก็อธิบายยกตัวอย่างตามความเข้าใจ จะได้ see picture (เห็นภาพ)กันไปด้วยนะครับ ซึ่งบทเรียนนี้เป็นเรื่องวิชาคอนกรีตเทคโนโลยี ก่อนเรียนจำได้ว่า ปูนก็คือปูนเอาผสมๆกันก็คือปูน 555 จริงๆแล้วไม่ใช่ มันมีอะไรกว่านั้นอีกเยอะ อาทิเช่น ปูน+น้ำ+อากาศ =ซีเมนต์เพลส โอ้โหววววไม่นึกไม่ฝัน

สรุปการหาขนาดคละของมวลรวม-วิชาคอนกรีตเทคโนโลยี

สรุปการหาขนาดคละของมวลรวม-วิชาคอนกรีตเทคโนโลยี

ขนาดคละ คืออะไร ?

ขนาดคละ

ขนาดคละ

ขนาดคละ Gradation คือ การกระจายของขนาดต่างๆของอนุภาค ขนาดคละของมวลรวมเป็นคุณสมบัติที่สำคัญสำหรับการกำหนดปริมาณเนื้อซีเมนต์เพลสท์

ขนาดคละของทราย

ทรายปริมาณที่เเหมาะสมของอนุภาคละเอียดคือ ผ่านตะแกรงเบอร์ 50 อย่งน้อย 15 % และเบอร์ 100 อย่างน้อย 5% แต่ไม่ควรให้อนุภาคที่ผ่านตะแกรงเบอร์ 200 มากกว่า 5% เพราะอนุภาคนี้เล็กมักประกอบไปด้วยดินเหนี่ยว ซึ่งผลคือ เมื่อมวลละเอียดมากก็ต้องใช้น้ำมาก พอใช้น้ำมากผสมทำให้ปริมาตรคอนกรีตเปลี่ยนแปลงสูง (เกิดการหดตัว)

ขนาดคละของหิน

ในไทยพบหินมีขนาดเดียวเช่น หิน 1 หรือ หิน 2 และไม่ได้คละให้ถูกต้องตามทฤษฎีสำหรับงานคอนกรีต คือ เมื่อใช้หินย่อยและทรายแม่น้ำ ปริมาณส่วนละเอียด ปูนซีเมนต์ และทรายที่เหมาะสมจะทำให้คอนกรีตเทได้ไม่แยกตัวหรือเกิดการเยิ้มมากและได้กำลังอัดตามต้องการ

เมื่อคละขนาดของอนุภาคแล้ว มันดีอย่างไร ?

คอนกรีตส่วนผสมที่ไม่เหมาะสม-เทเสาแล้วเป็นโพรง

คอนกรีตส่วนผสมที่ไม่เหมาะสม-เทเสาแล้วเป็นโพรง

ปริมาณซีเมนเพสท์

คอนกรีตที่มีขนาดคละของมวลรวมที่ดี กล่าวคือ มีมวลรวมหยาบมวลรวมระเอียดได้ตามสัดส่วนที่เหมาะสมลงตัว เมื่อนำมาผสมกันอย่างลงตัวแล้ว มวลรวมที่มีขนาดเล็กจะเข้าไปเติมเต็มช่องว่างตรงที่มวลรวมที่มีขนาดใหญ่ ก็จะส่งผลให้ช่องว่างมีมวลรวมปริมาณน้อยลง ปริมาณซีเมนต์เพสท์ที่ใช้เพื่อยึดมวลรวมและอุดช่องว่างจึงลดลง ทำให้ลดปริมาณส่วนผสมของปูนซีเมนต์ลงได้
ยกตัวอย่างเช่น : เราเอาหินใส่ในกล่องมันก็จะมีช่องว่าง ช่องว่างตรงนี้แหละถ้าเราคัดทราย กรวด เม็ดเล็กที่ลงตัวเอาไปทดแทนส่วนที่เป็นช่องว่างระหว่างหินก้อนใหญ่

ความสามารถเทได้ (Workability)

คอนกรีต ที่ใช้มวลรวมซึ่งมีขนาดคละดี จะมีปริมาณซีเมนต์เพสท์ที่เหลือจากการเติมช่องว่างในมวลรวมมากกว่าคอนกรีตที่ใช้มวลรวมขนาดคละเดียว(Single Size) หรือขนาดคละขาดช่วง (Gap Grade)ดังนั้นปริมาณซีเมนต์เพสท์ดังกล่าวจะทำหน้าที่หล่อลื่นและลดแรงเสียดทานระหว่างมวลรวมทำให้ความสามารถเทได้เพิ่มขึ้น

การแยกตัว (Segregation)

โดยปกติการแยกตัวของคอนกรีต มี 2 ชนิด คือ การแยกตัวของ มอร์ต้า(มอร์ต้าคือ ปูน+น้ำและหรือสารผสม+ทราย) ออกจากเนื้อคอนกรีตในคอนกรีตปกติทั่วไปที่ได้รับการจี้เขย่ามากเกินไป
การเยิ้ม คือ การจมลงของมวลรวม (องค์ประกอบที่หนักกว่า) ซึ่งจะดันให้น้ำบางส่วน (น้ำส่วนที่เบาที่สุด) ดันน้ำลอยขึ้นมาบนผิวหน้าของคอนกรีต ซึ่งมาจากความไม่สามารถกักน้ำที่แผ่กระจายอยู่เอาไว้ในขณะที่มวลรวมที่หนักกว่าจมลง

ยกตัวอย่างเช่น : เวลาเทเสาสูงๆ เวลาเราเทลงไปหินมันมีน้ำหนักมันคงลงไปกองข้างล่าง ตามด้วยทราย และน้ำอยู่ด้านบน

Lap หาค่าโมดุลัสของทราย วันที่ 08/01/2566

การหาค่าโมดุลัสของทราย-วิชาคอนกรีตเทคโนโลยี-วันที่ 08-01-2566

การหาค่าโมดุลัสของทราย-วิชาคอนกรีตเทคโนโลยี-วันที่ 08-01-2566

20230108-หาค่าโมดูลัสทราย-01

20230108-หาค่าโมดูลัสทราย-01

1. เริ่มต้นชั่งน้ำหนัก sieve เปล่าวัดค่าให้เรียบร้อย หลังจากนั้นซ้อนเรียงตามเบอร์ให้เรียบร้อย (ใส่ค่าชองที่ 1 ลงไป)
2. นำทรายที่ใช้ได้น้ำหนัก 1100 กรัม
3.นำทรายเทลงไปใน sieve ปิดฝา
4.นำไปเข้าเครื่องร่อน จับเวลา 1 นาที
5. หลังจากได้เวลา 1 นาที ปิดเครื่องร่อน แล้วแกะ sieve แต่ละเบอร์ออกชั่งน้ำหนัก (ใส่ค่าชองที่ 2 ลงไป)
6. นำค่าจาก ช่องที่ 2 ลบด้วย ค่าช่องที่ 1 จะได้ผลลัพธ์ แล้วเติมลงไปช่องที่ 3
7. หาร้อยละที่ค้างบนตะแกรง โดยการค่าในช่อง 3 เอาผลรวม ในที่นี้ใช้ 1101มาหาร และคูณ 100 จะได้ว่า (115/1101)*100=10.45% ค่านี้เอาไปใส่ในช่องที่ 4
8.หลังจากได้ค่า ช่องที่ 4 คือ 10.45 มาแล้ว ก็ให้นำค่า ช่องที่ 5 คือ 0 มาบวกกัน แล้วใส่ช่องที่ 5 ช่องถัดมา จะได้ว่า 0+10.45 =10.45%
9. ช่องที่ 6 จะได้มาจากค่า 100-ค่าช่องที่ 4 =89.55 ใส่ลงที่ช่อง ที่ 6
10. จากนั้นนำผลรวมของช่องที่ 5 ทั้งหมด มาบวกกัน ได้เท่ากับ 287 แล้วหารด้วย 100 = 287/100 =2.87 %

2.87 % ก็คือ มวลละเอียด โดยมวลละเอียดจะมีค่าตั้งแต่ 2.4-3.2 หรือ มวลที่ผ่านตะแกรงเบอร์ 4 ลงมานั่นเอง

ค่าโมดูลัส เอาไว้เพื่ออะไร ?

ค่าโมดูลัสความละเอียด เป็นค่าที่ไม่ม่หน่วย เป็นตัวบอกว่าทราบที่นำมาทดสอบนั้นหยาบหรือละเอียด ทรายที่มีค่า F.M. สุงคือทรายที่มีความหยาบมาก เช่น ทรายที่มีค่า F.M.=3.2 จะหยาบกว่าค่า 2.3 ทรายที่มีความละเอียดมาก จะเป็นต้องใช้น้ำมากเพื่อให้มีความสามารถในการเทได้เท่าๆกัน ดังนั้นทรายควรมีค่าในช่วง 2.30-3.20 ค่าโมดูลัสยังใช้บอกถึงความละเอียดของมวลรวมแล้ว ยังมีประโยชน์นการนำไปใช้หาอัตราส่วนผสมของมวลรวม แต่ละชนิด

และข้อมูลจาก www.cpacacademy.com

Thanat Sirikitphattana

แบ่งปันกัน เราอยู่กันไม่เกิน 100 ปีหรอกครับ
สุดท้ายก็ทิ้งไว้ที่โลก จะคงเหลือไว้แต่คุณงามความดีที่ให้ระลึกถึงกันครับ

Follow Us / Thanat Sirikitphattana