ข้อบัญญัติกรุงเทพ ว่าด้วยเรื่อง ควบคุมอาคาร นั้นแบ่งออกเป็นหมวด
หมวดที่ 1 เป็นหมวดของคำศัพท์
อธิบายขยายความให้เข้าใจเกี่ยวกับความหมายของคำเช่น อาคารสูง หมายถึง อาคารที่บุคคลอาจเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้ที่มีความสูงตั้งแต่ 23 เมตรขึ้นไป การวัดความสูงของอาคารให้ได้จากระดับพื้นดินที่ก่อสร้างถึงดาดฟ้า (บนหลังคานไม่ใช่ใต้ท้องค้าน) สำหรับอาคารทรงจั่วหรือปั้นหยา ให้วัดจากระดับพื้นดินที่ก่อสร้างถึงยอดของชั้นสูง
หมวดที่ 2 หลักเกณฑ์ วิธีการเงื่อนไขเกี่ยวกับอนุญาต
การดำเนินการแจ้ง การออกใบรับรองหรือใบแทน ตัวอย่างอาทิเช่น ผู้ใดที่จะก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอน เคลื่อนย้ายอาคาร ใช้หรือเปลี่ยนการใช้อาคาร ดัดแปลงหรือใช้ที่จอดรถ กลับรถ ให้ยื่นคำขอโดยการแจ้งต่อผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
หมวดที่ 3 ว่าด้วยลักษณะต่างๆของอาคาร
ที่พักอาศัย อาคาต่างๆ นั้นมีข้อกำหนด อยู่ เช่น ให้ก่อสร้างได้ไม่เกิน 2 ชั้น , อาคารหอพักอยู่อาศัยขนาดห้องไม่น้อยกว่า 3 เมตร และมีพืนที่ไม่น้อยกว่า 12 ตร.ม เป็นต้น
หมวดที่ 4 บันไดและบันไดหนีไฟ
หมวดนี้จะกล่าวถึงข้อกำหนดของบันได อาคารที่อยู่อาศัยถ้าต้องมีบันได ขนาดของบันไดความกว้างไม่น้อยกว่า 90 cm. ช่วงหนึ่งสูงไม่เกิน 3 เมตร ลูกตั้งสูงไม่เกิน 20 cm. ลูกนอนเมื่อหักส่วนที่ขึ้นบันไดเหลี่ยมกันออกแล้วเหลือความกว้างไม่น้อยกว่า 22 cm. ส่วนบันไดสูงต้องมีพานักบันไดทุกช่วง 3 เมตร ส่วนบันไดหนีไฟต้องมีความกว้างไม่น้อยกว่า 90 cm. มีผนังทึบก่อสร้างด้วยวัสดุทนไฟและถาวรกั้นโดยรอบ เว่นแต่ที่เป็นช่องระบายอากาศและช่องประตูหนีไฟ
หมวดที่ 5 แนวอาคารและระยะต่างๆ
ข้อบัญญัติของกรุงเทพฯ หรือ ข้อบัญญัติท้องถิ่น ควบคุมอาคาร แนวเขตที่ดิน มีระยะร่น ที่ดินที่อยู่มุมถนนสาธารณะที่กว้างตั้งแต่ 3 เมตรขึ้นไปแต่ไม่เกินด 8 เมตร และมีมุมหักน้อยกว่า 135 องศา รั้วหรือกำแพงกั้นเขตจะต้องทำการปาดมุมให้มีระยะไม่น้อยกว่า 4 เมตร และทำมุมกับแนวถนนสาธารณะให้เป็นมุมเท่าๆกัน
หมวดที่ 6 กล่าวถึงเรื่อง แบบและจำนวนของห้องน้ำและห้องส้วม
มีข้อกำหนดสำหรับ ห้องน้ำห้องส้วมสำหรับการใช้งาน อาทิเช่น หอประชุม โรงมหรสพ ห้องโถง ต่อพื้นทีอาคาร 200 ตารางเมตร หรือ ต่อ 100 คน ให้ถือว่าเป็นจำนวนมาก จะกำหนด ห้องส้วมห้องน้ำ สำหรับชายหญิง รวมไปถึงมีข้อกำหนดอ่างล้างมืออีกด้วย
หมวดที่ 7 ระบบจัดแสงสว่าง การอากาศ การระบายน้ำ กำจัดมูลฝอยและสิ่งปฎิกูล
หมวดนี้จะกำหนดขอบเขตของแสง อากาศ น้ำ อาทิเช่น บ้านพักอาศัยประเภทบ้านเดี่ยวที่มีพื้นที่ไม่เกิ 1000 ตรม. ตึกแถว บ้านแผน อาคารชั่วความ ให้แสดงแบบระบบบำบัดน้ำเสียของแต่ละหน่วย ซึ่งก็จะเป็น บ่อดักไขมัน บ่อเกรอะ บ่อกรอง เพื่อที่จะบำบัดน้ำเสียก่อนออกไปท่อน้ำสาธารณะ
หมวดที่ 8 กล่าวถึง แบบและวิธีการติดตั้งระบบประปา ไฟฟ้า ก๊าซ และการป้องกันอัคคีภัย
เมื่ออยู่รวมกันในสังคม ย่อยมีโอกาสที่ะเกิดไฟใหม้ หรือ น้ำไม่เพียงพอใช้ได้ ดังนั้นก็ต้องจัดให้มีที่เก็บน้ำสำรอง ให้เพียงพอต่อผู้ใช้พักอาศัย อาคารใหญ่พิเศษ ต้องมีระบบจ่ายพลังไฟฟ้าให้เพียงพอต่อการใช้งาน สำหรับห้องแถวหรือตึกแถวก บ้านแถว บ้านแฝดที่มีความสูงไม่เกิน 2 ชั้นต้องติดตั้งเครื่องดับเพลงแบบมือถืออยางใดอย่างหนึ่งตามชนิดและขนานที่กำหนดไว้จำนวน 1 คูหาละ 1 เครื่อง
หมวดที่ 9 อาคารจอดรถ ที่จอดรถ ที่กลับรถลแะทางเข้าออกรถ
ในหมวดนี้จะเป็นข้อกำหนด ของอาคารที่จอดรถ ไม่ว่าจะเป็น โรงพยาบาล ตลาด สถานศึกษา อาคารแสดงสินค้า อาคารขนาดใหญ่ จะมีข้อกำหนดของอาคารที่จอดรถ อาทิเช่นสะพานเชิงลาดสะพานมีความลาดชันน้อยก่าว 2 ใน 100 กรณีที่จอดรถทำมุมเกิน 60 องศา ทางวิ่งของรถต้องกว้างไม่น้อยกว่า 6 เมตร ทางเข้าออกรถต้องมีความกว้างไม่มน้อยกว่า 6 เมตร เว้นแต่เป็นการเดินรถทางเดียวกว้างไม่น้อยกว่า 3.5 เมตร
หมวดที่ 10 กำลังวัสดุและน้ำหนักบรรทุก
อาคารที่ใช้งานในเขกรุงเทพฯ ตามข้อบัญญัติจะต้องมีความมั่นคงแข็งแรงพอที่จะรับน้ำหนักตัวอาคาร น้ำหนักบรรทุกที่อาจจะเกิดขึ้น รวมไปถึงแรงอื่นๆได้ โดย มีการกำหนดความสูงของอาคารและหน่วยแรงลม ส่วนโครงสร้างหลักที่เป็นเสาหรือคานที่ก่อสร้างด้วยเหล็กรูปพรรณที่ไม่ใช้คอนกรีตหุ้มต้องป้องกันให้มีอัตราการทนไฟได้ไม่น้อยกว่า 3 ชั่วโมง และต้องมีเอกสารรับรองอัตราการทนไฟจากสถาบันที่น่าเชื่อถือได้ประกอบการขออนุญา
หมวดที่ 11 ก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอนและเคลื่อนย้ายอาคาร
ในหมวดนี้จะเป็นข้อกำหนดในการดำเนินการต่างๆเกี่ยวกับอาคาร ในการก่อสร้าง การก่อสร้างต้องจัดให้มีการป้องกันฝุ่นละออง จัดให้มีสิ่งป้องกันวัสดุร่วงหล่น อาจจะเป็นภยันตรายต่อสุขภาพ ชีวิต หรือ การทิ้งของ นั่งร้านหรือผ้าใบจะล้ำที่ดินข้างเคียงหรือต่างเจ้าของไม่ได้ การทำงานแล้วเกิดเสียง ห้ามก่อสร้างทำให้เกิดเสียงดังเกินดว่า 75 เดซิเบล ที่ระยะห่าง 30 เมตรจากอาคารที่กอสร้าง ห้ามก่อสร้างหรือกระทำการใดๆ ในบริเวณที่ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้าง ซึ่งก่อให้เกิดเสียงและแสงรบกวนผู้อยู่อาศัยข้างเคียงระหว่าง 22.00 ถึ. 06.00 น. เว้นแต่จะมีการป้องกันและได้รรับอนุญาตตากผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นต้น
โดยสรุปประเด็นสำคัญของข้อบัญญัติกรุงเทพฯ ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2544 คือการควบคุมและกำหนดมาตรการเพื่อให้การก่อสร้างและการใช้ประโยชน์จากอาคารภายในเขตกรุงเทพมหานครเป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด โดยมุ่งเน้นความปลอดภัยและมีคุณภาพสูงสุดในการใช้ประโยชน์จากพื้นที่ในเขตกรุงเทพฯ
แบ่งปันกัน เราอยู่กันไม่เกิน 100 ปีหรอกครับ
สุดท้ายก็ทิ้งไว้ที่โลก จะคงเหลือไว้แต่คุณงามความดีที่ให้ระลึกถึงกันครับ
Follow Us / Thanat Sirikitphattana