26/03/2566 วันนี้เป็นวันอาทิตย์ครับ หลายๆท่านคงหยุดงานกันส่วนผมมาทำบุญครับ วันนี้มาวัดสีกัน (วัดพุทธสยาม) ทำบุญในรอบปี 2023ไม่ค่อยว่างเลยเนื่องจากติดเรียนมาตลอดจะว่างก็ช่วงหยุดภาคเรียนนี้ ช่วงใกล้ๆเมษายนนี้จะมีงานบวชค่อนข้างมาก วันนี้ก็มีบวช 3 รูปมาทำบุญวันนี้คนจะคึกคักหน่อยครับ

ทางขึ้นวิหารจตุรมุข วัดสีกัน(วัดพุทธสยาม)-26-03-2566ทางขึ้นวิหารจตุรมุข วัดสีกัน(วัดพุทธสยาม)-26-03-2566
วัดมีวิหารจัตุรมุขภายในประดิษฐานพระประธานองค์พระพุทธสมเด็จมหาราชทรงครุฑ ภปร. ขนาดหน้าตัก 69 นิ้ว สูง 119 นิ้ว

วัดสีกัน (วัดพุทธสยาม)-26-03-2023
เครื่องนุ่มห่มของพระสงฆ์
เครื่องนุ่มห่มของพระสงฆ์ หรือ เรียกว่า “ไตรครอง”ประกอบด้วย
จีวร คือ บริขารของพระภิกษุ และสามเณร ที่ประกอบด้วยชิ้นผ้าขนาดต่าง ๆ มาเย็บเป็นผืนใช้เป็นผ้านุ่ง ผ้าห่ม ของพระภิกษุและสามเณร คำนี้คนทั่วไปหมายเอาเฉพาะผืนที่ห่มเท่านั้น แต่ในพระวินัย หมายถึง บริขารที่จำเป็นอย่างหนึ่ง จัดเป็นปัจจัยหนึ่งในปัจจัยสี่
สังฆาฏิ คือ ผ้าที่ซ้อนทับจีวรอีกชั้นหนึ่งทำนองเป็นผ้าคลุมสำหรับป้องกันความหนาวในฤดูหนาว เมื่อห่มทาบจีวรก็จะเป็นผ้าสองชั้น ทำให้อบอุ่นขึ้นเมื่อห่ม จึงเรียกว่า ผ้าสังฆาฏิ (ผ้าซ้อน, ผ้าทาบ) สังฆาฏิแท้จริงแล้วเป็นผ้าสารพัดประโยชน์ เช่น ห่มแทนจีวร ทำเป็นผ้ากันแดดได้ เป็นต้น
สบง คือ ผ้าผืนหนึ่งในจำนวน 3 ผืนหรือ ไตรจีวรของพระสงฆ์ ซึ่งได้แก่ จีวร (ผ้าห่ม) สบง (ผ้านุ่ง) สังฆาฏิ (ผ้าซ้อน) เป็นผ้าสี่เหลี่ยมเหมือนผ้าขาวม้า ขนาดกลางกว้าง 91.44 เซนติเมตร ยาว 283.84 เซนติเมตรโดยประมาณ เล็กใหญ่กว่านั้นบ้าง ในพระวินัยกำหนดการนุ่งไว้คือ ด้านบนนุ่งปิดสะดือ แต่ไม่ถึงกระโจมอก ด้านล่างปิดหัวเข่าทั้งสองลงมาเพียงครึ่งแข้ง ไม่ถึงกรอมข้อเท้า นุ่งอย่างนี้เรียกว่า นุ่งเป็นปริมลฑล
อังสะ คือผ้าที่ภิกษุสามเณรสวมเฉวียงบ่า เรียกว่า ผ้าอังสะ เป็นผ้าที่มีลักษณะเหมือนสไบเฉียงของผู้หญิง คือมีบ่าด้านเดียว เย็บติดกันด้านหนึ่ง อีกด้านหนึ่งติดกระดุมบ้าง ติดสายสำหรับผูกให้กระชับในเวลาสวมบ้าง ติดกระเป๋าไว้ด้านหน้าบ้าง ด้านที่เย็บติดกันบ้าง เวลาใช้ สวมปืดบ่าซ้าย เปิดบ่าขวา
รัดประคต คือ สายรัดเอวที่ถักด้วยด้าย เป็นต้น ซึ่งภิกษุสามเณรใช้, บางทีเรียกสั้น ๆ ว่า ประคด
ผ้ารัดอก คือ ผ้าที่ใช้รัดอก เวลาพระเอาสังฆาฏิพาดบ่า เพื่อให้ดูกระชับและเรียบร้อย (ส่วนใหญ่ใช้ในงานพิธี,งานหลวง)
ผ้ากราบ คือ ผ้ารับประเคนสิ่งของ

เครื่องนุ่งห่มสงฆ์
สีของผ้าไตรจีวร
สีพระราช วัดที่ใช้ คือ วัดโดยทั่วไป สีพระราชนี้จะเป็นวัดวัดธรรมยุตในเมือง เช่น วัดบวร วัดราชา วัดเทพศิรินทร์ วัดปทุม เป็นต้น
สีส้ม เป็นสีที่ใช้กันตามสำนักเรียน สามเณร ภาษาพระเขาเรียกสีแบบนี้ว่า สีเหลือง ใช้เฉพาะมหานิกาย
สีแก่นขนุน เป็นสีหลักของพระสายกรรมฐาน และวัดป่าหลายๆแห่งในต่างจังหวัดของไทย
สีกรัก แก่นขนุนเข้ม หรือ สีแก่นบวร ไตรจีวรสีนี้ส่วนใหญ่แล้วพระสายกรรมฐานทางอีสานท่านครองกัน
สีส้มทอง พระที่ท่านครองสีนี้ หลักๆ ได้แก่ วัดสระเกศ วัดธรรมกาย วัดปากน้ำเป็นต้น
สีกรักแดง พระที่ครองสีกรักแดง ส่วนใหญ่จะเป็นพระพม่า พระทางเหนือ หรือพระครู
สีกรักแดงลูกหว้า พระที่ใช้สีนี้ ส่วนใหญ่จะเป็นพระทางเหนือ หรือพระทิเบต
สีกรักดำ พระที่ครองสีกรักดำ ส่วนใหญ่จะเป็นพระธุดงค์ หรือพระทางเหนือ พระครูบา

สีของผ้าไตรจีวร
ขอบคุณเครดิตรูปภาพและข้อมูลไตรจีวรจาก FB: TrijeevornOnline
วันนี้ตั้งใจทำกับข้าวมาถวายพร้อมกับไตรจีวร 1 ชุด ภาวนาทำการสิ่งใดลุล่วงสำเร็จดังเป้าหมาย เมื่อวานเลือกไตรจีวรนี่ก็สำคัญนะครับ ไตรจีวรก็มีหลายแบบหลายหลากสีดังนั้นก็ต้องเลือกให้ถูกกับวัดด้วยนะครับ ตอนแรกก็ไม่รู้หรอกครับต้องมานั่งหาข้อมูลกันอีกไหนๆก็ไหนๆแล้วก็เก็บเอาข้อมูลมาฝากไว้ตรงนี้เลยละกัน สำหรับท่านใดที่กำลังจะไปทำบุญถวายผ้าไตรไว้เป็นข้อมูลกันครับ
หลังจากที่ว่างเว้นจากการทำงานกันแล้วก็อย่าลืมหมั่นเติมบุญ ทำจิตใจให้ผ่องใส มีสมาธิเวลาทำการสิ่งใดก็กระทำอย่างรอบคอบไม่ประมาท มีสติอยู่เสมอ ชีวิตก็จะราบรื่นราบเรียบกันนะครับ ^^

แบ่งปันกัน เราอยู่กันไม่เกิน 100 ปีหรอกครับ
สุดท้ายก็ทิ้งไว้ที่โลก จะคงเหลือไว้แต่คุณงามความดีที่ให้ระลึกถึงกันครับ
Follow Us / Thanat Sirikitphattana