ขั้นตอนการสร้างบ้าน เป็นขั้นตอนที่จะต้องทำตามลำดับ ซึ่งจะให้แล้วเสร็จได้ตามระยะเวลา ตามแผนงานที่เตรียมไว้เราก็ต้องมาเริ่มจากการ ทำแผนลำดับขั้นตอนการก่อสร้างให้มีขั้นตอนที่ถูกต้อง เป็นการทำงานได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ช่วยประหยัดงบในการสร้างบ้านของเรา และทำให้งานเสร็จได้ตามเป้าหมาย
สวัสดีครับวันแรกของการเรียนช่างก่อสร้างที่นี่ ลงมือปฎิบัติกันไปเลย วันนี้วันที่ 21 พ.ค. 2565 เริ่มจากอาจารย์มาพูดเรื่องหน่วยวัด งานช่าง อาทิเช่น หน่วยหุน และทบทวนทฤษฎีปีทากอรัส ในการหาฉากเพื่อใช้ใช้งานก่อสร้าง วันแรกของเราก็จะเคลียร์พื้นที่ในการก่อสร้าง
ในวงการก่อสร้างของไทยจะมีอีกหนึ่งเรื่องที่ชวนให้น่าปวดหัวนั่นก็คือ เรื่องของหน่วยวัด ซึ่งปกติแล้วเราจะใช้หน่วยวัดเป็นหน่วยมิลลิเมตร เซนติเมตร เมตร และกิโลเมตร อย่างเช่น จะซื้อเหล็กยาวเท่าไหร่ ก็จะระบุเป็นเมตร แต่พอมาเป็นตัวเลขหน้าตัดของเหล็กมักจะหันไปใช้หน่วยเป็นนิ้วแทน
หน่วยหุนคืออะไร ?
หน่วยหุน (Hun) เป็นภาษาที่ช่างชอบใช้กัน โดยที่มาของคำว่า หุน มาจากชื่อมาตรา วัด ตวง ชั่ง ของจีนโบราณ ซึ่งหุน คือ หน่วยวัดความยาว หรือความหนาของวัสดุสิ่งของต่าง ๆ โดย 1 หุนจะเท่ากับ 1 ใน 8 ส่วนของนิ้ว (1 หุน = 1/8”) หรือ 1 นิ้ว เท่ากับ 8 หุน
หลังจากนั้นก็ทำการตอกหลักเป๊ก ขึงเอ็น ขุดดินเพื่อทำฐานราก ผูกเหล็กฐานราก และทำไม้แบบตามลำดับครับ ในที่นี่เราจะสร้างเป็นบ้านสองชั้น แต่ไม่ได้เทจริงๆนะครับ เป็นการจำลองสถานะการณ์ว่าการสร้างบ้านเริ่มจากอะไรขั้้นตอนไหน ซึ่งพอสร้างขึ้นชั้นสองเราจะทำคาน และไม้ค้ำยัน ตุกตา ต่อไปครับ ส่วนเรื่องข้อมูลเราก็ต้องอ่านเพิ่ม เช่นการเตรียมพื้นที่ เตรียมวัสดุอุปกรณ์ สาธารณูปโภค
อ่านต่อ 1. เตรียมพื้นที่สำหรับก่อสร้าง
แบ่งปันกัน เราอยู่กันไม่เกิน 100 ปีหรอกครับ
สุดท้ายก็ทิ้งไว้ที่โลก จะคงเหลือไว้แต่คุณงามความดีที่ให้ระลึกถึงกันครับ
Follow Us / Thanat Sirikitphattana