ฐานราก หรือ Footing คือ โครงสร้างชั้นล่างสุด ฐานเริ่มต้นของการก่อสร้างบ้าน ฐานรากมีหน้าที่รับน้ำหนักทั้งหมดของอาคาร หรือน้ำหนักของตัวบ้านเอาไว้ทั้งหลัง ฐานรากโดยปกติแล้วจะนิยมใช้คอนกรีตเสริมเหล็กในการทำ คอนกรีตสำหรับรับแรงอัด ส่วนเหล็กจะรับแรงดึง ( ถ้าเรียนก่อสร้างเราน่าจะได้เรียนเรื่องระบบแรง ในกลศาสตร์ จะเข้าใจเรื่องนี้ได้ดีขึ้น) ฐานรากอยู่ใต้ดิน รองรับน้ำหนักที่ถ่ายลงมาผ่านคาน เสา แล้วลงสู่ฐานราก ดังนั้น ฐานรากจึงมีความสำคัญเป็นอย่างมากในการก่อสร้าง
ฐานรากนั้นแบ่งออกตามลักษณะได้ 2 แบบ ดังนี้
1. ฐานรากแบบตื้น (แบบไม่ต้องมีเสาเข็มรองรับ)
ฐานรากแบบตื้น ในภาษาอังกฤษใช้คำว่า Shallow Foundation โดยฐานรากแบบตื้นนี้ จะไม่ใช้เสาเข็ม ฐานรากแบบนี้เหมาะกับดินที่แน่นแข็งแรง พอที่จะรับน้ำหนักบรรทุกได้และมีการทรุดตัวไม่มากกว่า ข้อกำหนดทางวิศวกรรม ฐานรากแบบตื้นจึงไม่ต้องใช้เสาเข็ม
2. ฐานรากแบบลึก (แบบมีเสาเข็ม)
ฐานรากแบบลึก หรือ ฐานรากที่มีเสาเข็มรองรับ ในภาษาอังกฤษใช้คำว่า Deep Foundation เป็นฐานรากที่ถ่ายน้ำหนักโครงสร้างลงสู่เสาเข็ม ส่วนใหญ่จะพบการใช้ ฐานรากเสาเข็ม ในบริเวณที่เป็นดินอ่อนที่ไม่สามารถรับน้ำหนักโครงสร้างได้ จึงต้องใช้เข็มตอกลงไปเพื่อให้ปลายเข็มไปหยั่งลงดินลึกลงไปในระดับที่ปลอดภัย รับแรงโครงสร้าง น้ำหนักบรรทุกได้โดยไม่เกิดการเคลื่อนตัวหรือพังทลายของดินใต้ฐานรากและต้องไม่เกิดการทรุดตัวลงมากจนก่อให้เกิดความเสียหายแก่โครงสร้าง
Ground Column หรือ เสาตอม่อ
สาตอม่อ คือส่วนสำคัญที่ทำหน้าที่รับน้ำหนักจากตัวอาคาร คานคอดิน และถ่ายน้ำหนักลงสู่ฐานรากต่อๆไป โดยไม่ว่าจะเป็นฐานรากแบบแผ่ หรือ ฐานรากวางบนเสาเข็ม ก็จะสามารถสร้างตอม่อได้เลย
ขั้นตอนการสร้างเสาตอม่อ
- ในขณะที่กำลังก่อฐานรากนั้น เราสามารถวางเหล็กเสริมตอม่อลงไปพร้อมๆกับฐานรากได้เลย
- ตรวจสอบให้เสาตอม่ออยู่กึ่งกลางของฐานราก ไม่ให้เกิดการเยื้องศูนย์
- ติดตั้งไม้แบบของตอม่อ โดยทำแนวการตั้งไม้แบบโดยการขีดเส้น เพื่อให้สะดวกต่อการประกอบแบบหล่อ
- เทคอนกรีตให้ได้ระดับตอม่อที่ต้องการ และจี้สั่นเนื้อคอนกรีตเพื่อไล่ฟองอากาศ และให้ได้กำลังอัดตามที่กำหนด
ขอบคุณภาพประกอบจาก P.การช่างเข็มสปันไมโครไพล์
แบ่งปันกัน เราอยู่กันไม่เกิน 100 ปีหรอกครับ
สุดท้ายก็ทิ้งไว้ที่โลก จะคงเหลือไว้แต่คุณงามความดีที่ให้ระลึกถึงกันครับ
Follow Us / Thanat Sirikitphattana